การดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน(copy)

Last updated: 5 May 2023  |  713 Views  | 

การดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน(copy)

การดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน

   ผู้สูงอายุนอนติดเตียงที่บ้าน เป็นกลุ่มที่มีความยากลำบากต่อการเข้าไปรับบริการทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุขได้โดยตรง เนื่องจากมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้สูงอายุบางรายอาจต้องมีอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการช่วยเหลือติดตัวกลับไปดูแลต่อที่บ้าน ซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดการดูแลที่บ้าน เนื่องจากกิจกรรมการดูแลมีความซับซ้อนมากกว่าการดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันทั่วไป นอกจากนี้การนอนบนเตียงตลอดเวลา หรือนอนทับท่าเดียวนานๆ อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุ เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 4 ได้แก่ การเกิดแผลกดทับ ข้อยึดติดและกล้ามเนื้อลีบ การติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และภาวะซึมเศร้าซึ่งส่งผลให้ต้องกลับเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลได้ ซึ่งผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวทำให้ต้องพึ่งพาผู้อื่นดูแลโดยเฉพาะคนในครอบครัว อีกทั้งผู้สูงอายุบางรายอาจต้องมีอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการช่วยเหลือกลับไปดูแลต่อที่บ้าน ซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดการดูแลที่บ้าน เนื่องจากกิจกรรมการดูแลมีความซับซ้อนมากกว่า การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันทั่วไป และอาจส่งผลให้ผู้สูงอายุ เกิดภาวะแทรกซ้อน จนต้องกลับเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลซ้ำ

 
  แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่บ้านนั้น เป็นการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลที่บ้านให้มีประสิทธิภาพและสามารถจัดการดูแลได้เองอย่างต่อเนื่อง จนสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียงและชะลอการกลับเข้าโรงพยาบาลซ้ำได้ โดยทั้งนี้มีผู้ดูแลเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาความสามารถโดยใช้ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุน ได้พัฒนาความสามารถในการดูแล ทั้งนี้เพื่อช่วยส่งเสริมความสามารถผู้ดูแลในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง นอกจากนั้นต้องมีการติดตามผลการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ดูแลคงไว้ซึ่งการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุนอนติดเตียงที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง
 

แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่บ้าน

1. การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง

2. การปฏิบัติกิจกรรมการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียงที่บ้าน เช่น

   1) การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงตามสถานพยาบาลต่าง ๆ การจัดทำสื่อแนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง การให้ความรู้เกี่ยวกับแผลกดทับ

   2) การช่วยผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด ช่วยให้ลุกขึ้น-ลงเตียงบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะแขนขาลีบ

3) การเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยหรือฟูกเพื่อป้องกันแผลกดทับ

4) การให้ความเอาใจใส่ต่อผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันผู้ป่วยติดเตียงมีภาวะซึมเศร้า



ข้อมูลอ้างอิงจาก : พิศมัย บุติมาลย์, แสงอรุณ อิสระมาลัย, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนสำ หรับผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่บ้าน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร, 38(3), 79-91. https://www.nur.psu.ac.th/researchdb/file_warasarn/14307journal2.pdf

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and