อุบัติเหตุพลัดตกเตียงของผู้สูงอายุ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

Last updated: 27 Feb 2023  |  1131 Views  | 

อุบัติเหตุพลัดตกเตียงของผู้สูงอายุ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

  เพราะอายุที่มากขึ้น มาพร้อมกับสุขภาพร่างกายที่เริ่มถดถอยลง จึงส่งผลให้ผู้สูงอายุเจ็บป่วยรุนแรงจากอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ ซึ่งอุบัติเหตุที่พบได้มากที่สุด มักเป็นอุบัตเหตุพลัดตกหกล้ม และอาจนำมาด้วยภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จนนำไปสู่ความรุนแรงถึงชีวิตได้ ดังนั้นผู้ดูแลจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ในการดูแลและระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

ผลกระทบจากอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
  การพลัดตกหรือหกล้มที่พบบ่อยๆ เช่น ลื่นล้มในห้องน้ำ ตกเตียง ตกบันได เดินสะดุดจนล้ม อุบัติเหตุเหล่านี้นั้น นอกจากจะส่งผลให้ร่างกายและอวัยวะภายในร่างกายเกิดการกระแทกแล้ว ยังอาจส่งผลร้ายแรงถึงระบบประสาท และอาจร้ายแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

  “การพลัดตกหกล้ม” ไม่เพียงส่งผลกระทบโดยตรงต่อร่างกาย แต่ยังส่งผลถึงสภาพจิตใจอีกด้วย เพราะการบาดเจ็บจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยจึงขาดความเชื่อมั่นและลดทอนความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่างๆ เพราะกังวลว่าจะหกล้มอีก ทำให้การเข้าสังคมอาจลดลงจนเกิดเป็นการแยกตัว ซึ่งจะนำไปสู่การภาวะซึมเศร้าได้


ปัจจัยเสี่ยงการหกล้มในผู้สูงอายุ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้

- ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพร่างกาย และความสามารถที่ลดลง เช่น การมองเห็นไม่ชัด สายตาผิดปกติ เดินเซ เคลื่อนไหวลำบาก มีการรับรู้ที่ช้า โรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรัง เช่น เช่น โรคหลอดเลือด โรคพาร์กินสัน รวมทั้งมีการใช้ยาที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือมีประวัติการใช้ยามากกว่า 4 ชนิดขึ้นไป

- ปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

- ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นบ้าน พื้นบันได พื้นห้องน้ำลื่นหรือมีสิ่งกีดขวาง แสงสว่างไม่เพียงพอ บันไดไม่มีราวจับ ขั้นบันไดที่สูงชันหรือแคบ รองเท้าของผู้สูงอายุที่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถยึดเกาะพื้นได้ดี เป็นต้น

แนวทางป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

  แม้ว่าปัญหาอุบัติเหตุการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุจะเกิดขึ้นได้บ่อย แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หรือเสี่ยงที่จะเกิดน้อยลงได้ 7 แนวทาง ดังนี้

1. ฝึกการเดิน การทรงตัว และออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ เช่น ท่ายืนเขย่งปลายเท้าสลับยืนบนส้นเท้า ทำสลับกัน 10 ครั้ง ท่ายืนงอเข่า ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง และท่านั่งเหยียดขา ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง เป็นต้น

2. ควรเปลี่ยนท่าช้าๆ เพื่อป้องกันภาวะความดันตกในท่ายืน หน้ามืด วิงเวียน ขณะลุกนั่งหรือยืนทุกครั้ง

3. หากการเดินหรือทรงตัวไม่มั่นคง ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า โครงเหล็กช่วยเดิน เป็นต้น

4. สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้าที่มีขนาดพอดี รองเท้าควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ย ขอบมน มีหน้ากว้าง และเป็นแบบหุ้มส้น พื้นรองเท้าควรมีดอกยาง ไม่ลื่น

5. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง

6. คนในครอบครัว หรือผู้ดูแลใกล้ชิด หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติทางด้านการรับรู้ เช่น สับสน หลงลืมเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ และบุคคล หรือการตอบสนองได้ช้าลงหรือไม่

7. ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวควรเข้ารับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เช่น เช็คความผิดปกติของการมองเห็น ความผิดปกติของการเดิน การทรงตัว เป็นต้น รวมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เพื่อขอรับคำแนะนำ เกี่ยวกับ การใช้ยา ความผิดปกติในการมองเห็น การเดิน การทรงตัวและการเคลื่อนไหว

แนวทางป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

  แม้ว่าปัญหาอุบัติเหตุการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุจะเกิดขึ้นได้บ่อย แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หรือเสี่ยงที่จะเกิดน้อยลงได้ 8 แนวทาง ดังนี้

1. ฝึกการเดิน การทรงตัว และออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ เช่น ท่ายืนเขย่งปลายเท้าสลับยืนบนส้นเท้า ทำสลับกัน 10 ครั้ง ท่ายืนงอเข่า ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง และท่านั่งเหยียดขา ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง เป็นต้น

2. ควรเปลี่ยนท่าช้าๆ เพื่อป้องกันภาวะความดันตกในท่ายืน หน้ามืด วิงเวียน ขณะลุกนั่งหรือยืนทุกครั้ง

3. หากการเดินหรือทรงตัวไม่มั่นคง ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า โครงเหล็กช่วยเดิน เป็นต้น

4. สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้าที่มีขนาดพอดี รองเท้าควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ย ขอบมน มีหน้ากว้าง และเป็นแบบหุ้มส้น พื้นรองเท้าควรมีดอกยาง ไม่ลื่น

5. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง

6. คนในครอบครัว หรือผู้ดูแลใกล้ชิด หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติทางด้านการรับรู้ เช่น สับสน หลงลืมเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ และบุคคล หรือการตอบสนองได้ช้าลงหรือไม่

7. ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวควรเข้ารับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เช่น เช็คความผิดปกติของการมองเห็น ความผิดปกติของการเดิน การทรงตัว เป็นต้น รวมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เพื่อขอรับคำแนะนำ เกี่ยวกับ การใช้ยา ความผิดปกติในการมองเห็น การเดิน การทรงตัวและการเคลื่อนไหว

8. เลือกระดับความสูง-ต่ำ ของเตียงผู้ป่วยให้เหมาะสม โดยระดับความสูง-ต่ำของเตียง ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรกๆ ในการเลือกซื้อเตียง เนื่องจากระดับสูง-ต่ำนั้นมีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกเตียง หากเป็นผู้ใช้งานที่ตัวเล็กจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงจากการพลัดตกเตียงมากกว่า ดังนั้นความสูงที่เหมาะสมของเตียงผู้ป่วยสำหรับคนไทยจึงควรอยู่ที่ 26 เซนติเมตร เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุที่รุนแรงจากการพลัดตกเตียง

  โดยทางร้าน Loyal Care มีเตียงที่สามาปรับได้ขนาดต่ำสุด 26 เซนติเมตร มาพร้อมฟังก์ชันครบครันกว่า 6 ฟังก์ชัน ราวข้างเตียงสูง 40 เซนติเมตร ได้ขนาดมาตรฐาน ลดการเกิดอุบัติที่รุนแรงจากการพลัดตกเตียงของผู้สูงอายุ มาพร้อมฟังก์ชันเชิ่ดเท้าสูง - หัวต่ำ หรือ หัวต่ำ - เท้าสูง เพื่อการปรับไหลเวียนเลือดเหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียง และสามารถปรับเป็นคล้ายท่านั่งห้อยขา นั่งสบายมากขึ้น



อ่านรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม คลิกเลย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and